หน้าเว็บ

2556/04/30

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 16 "อุ๊ย! ท้องกระตุก"

Week 16
"อุ๊ย! ท้องกระตุก"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่     
          คุณแม่หลาย ๆ ท่านเริ่มรู้สึกสบายตัว มีความสุขกับการตั้งครรภ์มากขึ้น อยากทานอาหารโน่นนี่นั้นและหิวบ่อย อาจเป็นเพราะอาการแพ้ท้องเริ่มหายไปจนหมดในสัปดาห์นี้ และในสัปดาห์นี้คุณแม่บางท่านอาจมีความรู้สึกเหมือนท้องของคุณแม่กระตุกเบา ๆ บ้างแล้ว นั้นก็เกิดจากการที่ลูกน้อยในครรภ์ขยับตัวไปมา ส่วนหน้าท้องของคุณแม่เองก็เริ่มมีการขยายตัวใหญ่มากขึ้นคุณแม่ควรทาเบบี้ออย หรือครีมทาหน้าท้องสำหรับคนตั้งครรภ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับผิวหนังหน้าท้องเพื่อป้องกันการแตกลายนะค่ะคุณแม่
     ระวังนะคุณแม่     
          คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถ้าอายุเกิน 33 ปีแล้ว หรือคุณแม่ที่มีประวัติมีลูกผิดปกติ หรือมีความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว แพทย์จะแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจว่าลูกน้อยของคุณแม่นั้นมีความผิดปกติของโครโมโซมหรือไม่
     พัฒนาการลูกน้อย     
          ลูกน้อยเริ่มเคลื่อนตัวไปมา หมุนไปมาในท้องของคุณแม่มากขึ้น แต่คุณแม่อาจจะรู้สึกได้บ้างแบบเบา ๆ เหมือนท้องกระตุกเบา ๆ ลูกน้อยมีโครงกระดูกที่หนาแน่นขึ้น มีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น อวัยวะเพศพัฒนาจนสามารถบอกเพศได้ชัดเจนมากขึ้น ทารกมีลำตัวยาวประมาณ 5 นี้วแล้วนะค่ะคุณแม่

2556/04/26

น้ำเต้าหู้ประโยชน์ที่เหลือหลาย


น้ำเต้าหู้
น้ำเต้าหู้ คือ ถั่วเหลืองที่นำมาแช่น้ำ และบด จากนั้นเอาไปต้มกับน้ำกรองเอาแต่น้ำมาปรุงหวาน ถั่วเหลืองที่มากคุณประโยชน์เมื่อมาทำเป็นน้ำเต้าหู้ที่ทานง่ายอร่อยเป็นที่ถูกใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่นั้นจึงได้รับความนิยมมาช้านาน ด้วยสารอาหารที่มากมายในถั่วเหลือง จึงเป็นที่นิยมและแนะนำกันต่อ ๆ มาในหมู่คุณแม่ตั้งครรภ์ เพราะเชื่อกันว่ากินแล้วลูกน้อยในครรภ์จะฉลาด อันที่จริงในถั่วเหลืองมีสารอาหารมากมายที่มีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินต่าง ๆ และที่สำคัญในถั่วเหลืองมี "เลซิทิน" ซึ่งเป็นสารที่บำรุงสมอง เพิ่มความจำ ลดไขมันในร่างกาย แค่นี้ก็พอสรุปได้แล้วว่าการกินน้ำเต้าหู้ขณะตั้งครรภ์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยบำรุงสมองให้กับลูกน้อยตั้งแต่ในครรภ์ อย่างไรก็ตามความฉลาดของลูกน้อยก็ขึ้นอยู่กับการเสริมพัฒนาการให้ลูกด้วยหลังคลอดการทานอาหารในช่วงตั้งครรภ์ก็อาจเป็นเสี่ยวเล็ก ๆ ที่จะบำรุงสมองลูกให้สมบูรณ์พร้อมที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ ด้วยอย่างสมบูรณ์แบบหลังคลอดนั้นเอง

2556/04/24

เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย มันฝรั่งบดไข่แดง


 มันฝรั่งบดไข่แดง
วัตถุดิบ
วิธีทำ
  1. ต้มมันฝรั่ง แครอท และผักกาดขาวให้สุกนิ่ม
  2. ต้มน้ำใส่นมที่ลูกกินคนให้เข้ากันพักไว้
  3. บดมันฝรั่ง ผ่านตะแกรงตาถี่ หรือปั่นละเอียดด้วยเครื่องปั่น แครอท และผักกาดขาวก็เช่นกัน
  4. ส่วนไข่ไก่ต้มสุก ปลอกเอาแต่ไข่แดง ยีผ่านตะแกรงตาถี่
  5. นำมันฝรั่ง แครอท ผักกาดขาว ไข่แดงที่บดไว้มาผสมกัน เติมน้ำที่ต้มนมลงไปทีละน้อยคนให้เข้ากันพอเหลว

2556/04/23

ไขปริศนา"เฉาก๊วยกินแล้วลูกดำ"


เฉาก๊วยกินแล้วลูกตัวดำจริงหรือ
          คนโบราณเชื่อกันว่าคนท้องที่กินเฉาก๊วยแล้วลูกจะตัวดำ มาจนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังคงเชื่อกัน
อย่างนั้น จนเป็นความเชื่อที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนไม่รู้ว่าเป็นเรื่องจริงงหรือเท็จกันแน่
วันนี้เราจะมาไขปริศนากันกับคำโบราณที่ว่า "คนท้องกินเฉาก๊วยแล้วลูกจะออกมาตัวดำ" กันค่ะ
อันที่จริงแล้วสีผิวของลูกน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเม็ดสี ซึ่งเป็นไปตามพันธุกรรมของพ่อแม่เป็นหลัก
ถ้าพ่อแม่เป็นคนที่มีสีผิวขาวทั้งคู่ ต่อให้คุณแม่กินเฉาก๊วยมากเท่าใดสีผิวของลูกก็คงไม่ดำ
เพราะพันธุกรรมพ่อแม่ขาว จึงโล่งใจได้เลยว่าการกินเฉาก๊วยของคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างแน่นอน ถ้าคุณแม่มีความสุขที่จะกินก็ให้คุณแม่กินเถอะค่ะลูกจะได้มีความสุขไปด้วย
แต่ก็ควรระวังเรื่องความหวานนะค่ะ ที่จะมีผลต่อลูกน้อยทำให้เป็นเบาหวานได้ทานแต่น้อย ๆ พอดี ๆ ค่ะ


เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย ปลากินผักตุ๋น

ปลากินผักตุ๋น
วัตถุดิบ
  • น้ำซุปไก่            1 ถ้วย    
  • ปลายข้าว           1 ช้อนโต๊ะ 
  • แครอท             1   ช้อนโต๊ะ 
  • ถั่วแขก             1   ช้อนโต๊ะ 
  • นม                1/4 ถ้วย 
  • เนื้อปลา            1   ช้อนโต๊ะ 
  • เกลือติดปลายช้อน
วิธีทำ
  1. ต้นน้ำซุปไก่กับปลายข้าว จนข้าวสุกนิ่มแล้วใส่นมที่ลูกกินประจำเกลือเล็กน้อยคนให้เข้ากันสุกดีแล้วพักไว้
  2. ตั้งน้ำต้มแครอท ถั่วแขกต้มจนสุกนิ่มพักไว้
  3. นำเนื้อปลา(เป็นปลาน้ำจืดแล้วแต่ชอบ)นึงจนสุก
  4. นำแครอท ถั่วแขก ปลายข้าวและเนื้อปลามาบดผ่านตะแกรงตาถี่ หรือปั่นให้ละเอียดด้วย  เครื่องปั่น
  5. ผสมทุกอย่างรวมกัน ถ้าข้นเกินสามารถเติมน้ำซุปไก่ลงไปได้อีก

2556/04/22

เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย ผักกาดขาวบดตับ

ผักกาดขาวบดตับ
วัตถุดิบ
  • ผักกาดขาว              2-3 ใบ
  • ตับหมู                         2 ช้อนโต๊ะ
  • ปลายข้าว                   2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุป                         2 ถ้วย
วิธีทำ
  1. นำปลายข้าวไปต้มกับน้ำซุปจนข้าวสุกนิ่ม
  2. เมื่อข้าวสุกนิ่มใส่ผักกาดขาวลงต้มจนสุกจากนั้นพักไว้
  3. นำตับหมูนึ่งจนสุก
  4. นำปลายข้าว และผักกาดขาวบดผ่านตะแกรงตาถี่ หรือปั่นละเอียดกับเครื่องปั่น ตับหมูก็ทำเช่นเดียวกัน
  5. นำปลายข้าว ผักกาดขาว ตับหมูที่บดละเอียดมาผสมกัน ถ้าข้นสามารถเติมน้ำซุปลงไปได้อีกค่ะ


ประโยชน์ของตับหมู
  1. มีธาตุเหล็ก

เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย น้ำมะม่วง


น้ำมะม่วง
วัตถุดิบ
  • มะม่วงสุกงอม     ครึ่งลูก
วิธีทำ
  1. ครูดเนื้อมะม่วงสุกกับตะแกรงครูด
  2. กรองด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำ
ประโยชน์ของมะม่วง
  1. มีไฟเบอร์
  2. มีวิตามิน
  3. มีแคลเซี่ยม
  4. มีเกลือแร่
  5. มีเบตาแคโรทีนที่สูงช่วยเรื่องระบบขับถ่าย


เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย ข้าวตุ๋นซุปปลาทับทิม

ข้าวตุ๋นซุปปลาทับทิม
วัตถุดิบ
  • ปลายข้าว                  1 ช้อนโต๊ะ
  • เนื้อปลาทับทิม          3 ช้อนโต๊ะ
  • ฟักทอง                      2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำซุป                         2 ถ้วย
วิธีทำ
  1. ต้มปลายข้าวกับน้ำซุปจนสุกนิ่ม แล้วพักไว้
  2. นำปลาทับทิม และฟักทองไปนึ่งจนสุกนิ่ม
  3. นำปลาทับทิมมายีผ่านตะแกรงตาถี่ หรือจะปั่นละเอียดด้วยเครื่องปั่น ฟักทองและปลายข้าวก็เช่นเดียวกัน
  4. นำทั้งสามอย่างมาผสมกันถ้าข้นเกินก็เติมน้ำซุปลงไป
*เครื่องปั่นครวเป็นเครื่องปั่นที่แยกไว้สำหรับปั่นอาหารให้ลูกน้อยโดยเฉพาะนะค่ะคุณแม่
*ระวังเรื่องก้างปลานะค่ะ
                                                     

ประโยชน์ของปลาทับทิม                                            
  1. ย่อยง่าย
  2. มีโอเมก้า 3
  3. อุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัว
  4. บำรุงสมองเสริมสร้างความจำ
                                                       
ประโยชน์ของฟักทอง                                              
  • มีวิตามินเอสููง
  • มีวิตามินซี
  • บำรุงสายตา
  • มีแคลเซียม
  • มีเบต้าแคโรทีน

เมนูสำหรับเจ้าตัวน้อย ข้าวตุ๋นใบตำลึง


ข้าวตุ๋นใบตำลึง
วัสดุ
  • ใบตำลึงอ่อน              10 ใบ
  • น้ำซุป                           2 ถ้วย
  • ปลายข้าว                     2 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำ
  1. ต้นปลายข้าวกับน้ำซุปจนปลายข้าวนั้นสุกนิ่ม
  2. ใส่ใบตำลึง ต้มต่อจนสุกดี
  3. นำปลายข้าวกับใบตำลึงที่ต้มสุกแล้วมาบดผ่านตะแกรงตาถี่ หรือปั่นละเอียดด้วยเครื่องปั่นแต่คุณแม่ต้องแยกเครื่องปั่นสำหรับลูกโดยเฉพาะนะค่ะ
*ถ้าบดข้าวกับใบตำลึงเสร็จแล้วมันข้นเกินไปคุณแม่สามารถเติมน้ำซุปลงไปอีกได้นะค่ะ

ประโยชน์ของใบตำลึง
  1. ถอนพิษไข้
  2. แก้ดับพิษร้อน
  3. แก้ปวดแสบปวดร้อน
  4. ช่วยลดไข้

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 15 "คุณแม่พาเที่ยว"


Week 15
"คุณแม่พาเที่ยว"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่     
          ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่มีแผนการเดินทางไปพักผ่อน แต่คุณแม่ต้องคำนึง
ว่ามีเจ้าตัวน้อยไปด้วย คุณแม่สามารถเดินทางได้ก็จริงแต่ต้องหลีกเหลี่ยงเส้นทางที่ผิวการจรจราที่
ขุรขระเพราะเส้นทางเหล่านี้อาจทำให้คุณแม่เกิดอาหารปวดท้องท้องแข็งได้เช่นกัน แต่ก็จะมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะนิดหน่อยที่คุณพ่อจะต้องแวะสุขาให้คุณแม่บ่อยกว่าเดิม
          และในระยะนี้เองตัวคุณแม่จะกลับมาทานอาหารได้เหมือนเดิมแล้วคุณแม่ควรทานอาหารช้า ๆ
คำเล็ก เพราะลำไส้จะถูกมดลูกเบียดให้เล็กลงเรื่อย ๆ การทานอาหารคำใหญ่ ๆ จะทำให้อาหารผ่านลงมาในลำไส้ได้ช้าและลำบาก ทำให้คุณแม่เกิดอาการจุกแน่นท้องได้ง่ายจนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวนะค่ะ
     ระวังนะคุณแม่     
          ในการตั้งครรภ์ช่วงเดือนนี้คุณแม่สามารถเดินทางได้ก็จริงไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ เครื่องบิน
แม้กระทั่งนั่งเรือ แต่ถ้าเดินทางไกลก็อยากแนะนำคุณแม่ว่าควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ ยิ่งท้องใหญ่
คุณแม่ก็ยิ่งควรเคลื่อนไหวบ่อย ๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกถ้าคุณแม่นั่งห้อยขานาน ๆ จะทำให้เท้าของคุณแม่บวมได้นะค่ะ
     พัฒนาการลูกน้อย     
          คุณแม่ค่ะลูกน้อยของคุณแม่ตอนนี้ตัวโตพอ ๆ กับกำปั้นคุณแม่แล้วล่ะ ขนาดลำตัวยาวประมาณ
4.5 นิ้ว หนักประมาณ 80 กรัม โครงกระดูพัฒนาเร็วมากขึ้นแต่ยังเป็นกระดูกอ่อนอยู่ เริ่มขยับนิ้วมือ
นิ้วเท้าบ้างแล้วค่ะลูกน้อยเริ่มมีขนคิ้ว ขนตา รากผมเริ่มสร้างเม็ดสีของเส้นผม ลูกน้อยสามารถได้ยินเสียงในท้อง เช่นเสียงหัวในแม่ เสียงท้องร้อง

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 14 "ทานอาหารได้เหมือนเดิมแล้วนะ"


week 14
"ทานอาหารได้เหมือนเดิมแล้วนะ"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่            
          ในเดือนนี้คุณแม่เริ่มแพ้ท้องน้อยลงทำให้คุณแม่กลับมาทานอาหารได้บ้างแล้ว
ในรายที่ไตรมาสแรกน้ำหนักตัวไม่ขึ้น มาในสัปดาห์นี้น้ำหนักจะเริ่มขึ้นมาบ้างเล็กน้อย
ในช่วงนี้คุณแม่อาจจะมีปัญหาเรื่องสีผิว จะสังเกตเห็นได้ว่ามีเส้นกลางลำตัวสีเข้มขึ้น
ตั้งแต่สะดือลงไปถึงบริเวณหัวเหน่า รวมทั้งลำคอ ข้อพับต่าง ๆ  ก็มีสีคล้ำขึ้น สิ่งเหล่านี้
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป คุณแม่จะคล้ำง่ายเมื่อออกแดดเพียงครู่ก็ตาม
อย่างไรก็ตามสีผิวของคุณแม่จะกลับมาเป็นปกติหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกแล้วนั้นเอง
     ระวังนะคุณแม่             
          เข้าสู่เดือนที่ 4 คุณแม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างสบายใน เพราะผ่านไตรมาสแรกแล้ว
กล่าวคือช่วงเสี่ยงต่อการแท้งนั้นเอง แต่ควรหลีกเหลี่ยงการกดทับ นอกจากนี้ช่วงการตั้งครรภ์
ช่องคลอดของคุณแม่จะมีน้ำหล่อลื่นออกมามากกว่าปกติ เนื่องจากฮอร์โมนที่มากขึ้น
และมีเลือดมาเลี้ยงที่อุ้งเชิงกรานมากขึ้น นอกจากนี้คุณแม่ควรเคลื่อนไหวตัวอย่างช้า ๆ
นั่งให้ถูกท่า เพื่อลดอาการปวดเมื่อย
     พัฒนาการลูกน้อย          
          ลููกน้อยมีรูปร่างหน้าตาคล้ายเด็กมากขึ้น มีคาง หน้าผาก และจมูกที่ชัดเจนมากขึ้น
ตอบสนองต่อการสัมผัสและสิ่งเร้าอย่างเสียงได้ น่าอัศจรรย์ที่ลูกน้อยสามารถหันศีรษะและ
ทำหน้าผากย่นได้แล้ว สำหรับเพศชายจะเริ่มพัฒนาต่อมลูกหมาก ส่วนเพศหญิงรังไข่
จะเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณอุ้งเชิงกรานและนะค่ะคุณแม่

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 13 "เข้าเดือนที่ 4 แล้วนะ"


week 13
"เข้าเดือนที่ 4 แล้วค่ะ"

     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่     
          หน้าท้องของคุณแม่เริ่มนูนออกมาเล็กน้อย มีเส้นเลือดบริเวณเต้านมมากขึ้น ตอนนี้รกพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน ส่งผ่านอาหาร และขับถ่ายของเสีย คุณแม่อาจจะรู้สึก
ว่าตัวเองหายใจเร็วขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องปกติ เพราะร่างกายของคุณแม่ต้องการระบายก๊าซคอร์บอนไดออกไซค์ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากลูกน้อยของคุณแม่ปล่อยออกมาผ่านทางรก จึงเป็นผลทำให้คุณแม่มีอัตรา
การหายใจเปลี่ยนไปจากเดิม และในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่บางท่านมีอาการแพ้ท้องลดลงแล้ว หรือไม่มีแพ้ท้องแล้ว หากบ้างท่านที่ยังมีอาการแพ้ท้องมากอยู่ควรปรึกษาแพทย์นะค่ะ
     ระวังนะคุณแม่      
          ในช่วงสัปดาห์นี้จะเริ่มมีปัญหากับฟันและเหงือก เพราะรกผลิตฮอร์โมนเอสโตเจน
และโปรเจสเตอโรน ฮอร์โมนนี้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในร่างกาย อาจทำให้คุณแม่มีอาการเหงือกบวม และมีเลือดออกได้ คุณแม่ควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยลดอาการได้ ทั้งนี้ยังช่วงเสริมให้กระดูกและฟันของเจ้าตัวน้อยให้แข็งแรงอีกด้วย   
          แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ก็อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ ระวังเรื่องการกระทบกระเทือนให้มาก     
     พัฒนาการลูกน้อย     
          ลูกน้อยมีความยาวเกือบ 4 นิ้ว กระดูกค่อย ๆ เจริญเติบโต ที่ขากรรไกเริ่มมีตุ่มฟันครบ32ซีกแล้ว
ระบบทางเดินอาหารเริ่มทำงาน ลูกเริ่มดูดปาก กลืนน้ำคร่ำ และปล่อยออกมาเป็นปัสสาวะ เล็บมือเล็บเท้าและผมเริ่มยาวขึ้น ลูกเริ่มมีเปลือกตาให้เห็น แต่ยังคงปิดสนิทเพื่อป้องกันดวงตาที่กำลังพัฒนาอยู่
ถ้าคุณแม่ทำอัลตราซาวด์จะเห็นได้ว่าลูกน้อยสามารถดิ้นได้ และสามารถพลักตัว กลับได้ แต่คุณแม่เองจะยังไม่สามารถรับรู้ถึงการดิ้นของลูกน้อยได้ สมองของลูกสามารถสั่งการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ได้สมบูรณ์แล้วนะค่ะ

2556/04/17

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 12 "คุณแม่ตัวใหญ่ขึ้นแล้วนะ"


week 12
"คุณแม่ตัวใหญ่ขึ้นแล้วนะ"

     การเปลี่ยนแปลงของคุณเม่     
          ในสัปดาห์นี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองตัวหนาขึ้น คุณแม่เริ่มมีหน้าท้องขึ้นมาบ้างแล้ว
ร่างกายคุณแม่ต้องการน้ำมากขึ้น เนื่องจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ
ทำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อยขึ้น ดังนั้นคุณแม่ต้องดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้วเพื่อทดแทน
น้ำที่สูญเสียไป น้ำยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารในร่ายกายของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี ส่วนในเรื่องน้ำหนักตัวตอนนี้อาจจะขึ้นเพียง 1-2 กิโลกรัม ในคุณแม่บางรายที่มีอาการแพ้ท้อง อาเจียน ทานอาหาร
ไม่ค่อยได้ น้ำหนักตัวอาจไม่เพิ่ม หรือลดลงบ้างเล็กน้อยก็ถือว่าไม่ผิดปกตินะค่ะ
     ระวังนะคุณแม่     
          ร่างกายคุณแม่เริ่มขยาย คุณแม่ควรเลือกเสื้อผ้าตัวหล่วม ๆ มาใส่ เพราะหน้าท้อง เอว หน้าอกเริ่มขยาย จะได้ไม่รู้สึกอึดอัด การใส่เสื้อผ้าพอดีตัวอาจทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัว เป็นลมได้ง่าย
และที่สำคัญเปลี่ยนมาใส่รองเท้าส้นเตี้ยได้แล้วนะค่ะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่และลูกน้อย
การใส่รองเท้าส้นสูงอาจทำให้คุณแม่ปวดหัวมากกว่าเดิม หรืออาจหกล้มได้จะเป็นอันตราย
ต่อลูกในท้องได้นะค่ะคุณแม่
     พัฒนาการลูกน้อย     
          ลูกน้อยของคุณแม่มีความยาวเทียบเท่าไส้กรอกคอกเทลแท่งสั้น ๆ หรือความยาวกว่า 3 นิ้ว อวัยวะสำคัญ ๆ ทั้งหลาย สร้างครบและสมบูรณ์แล้ว แคลเซียมเริ่มมาสะสมอยู่ที่กระดูกมากขึ้น
อวัยวะเพศเริ่มเห็นเป็นตุ่ม ๆ นิ้วมือนิ้วเท้าแยกออกจากกันอย่างสมบูรณ์ เล็บเริ่มงอก หัวใจของลูก
เริ่มเต้นช้าลงจากเดือนก่อนอยู่ที่ประมาณ 140-160 ครั้งต่อนาที
          สมองของลูกสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ลูกสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่ไร้ทิศทาง ถึงแม้ว่าลูกจะดิ้นได้แล้ว แต่คุณแม่ก็ยังไม่สามารถจับความรู้สึกได้ จนกว่าคุณแม่
จะมีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไปนะค่ะ

2556/04/15

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 11 "คุณแม่ต้องการอ๊อกซิเจน"


Week 11 "
คุณแม่ต้องการอ๊อกซิเจน"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่     
          ในสัปดาห์นี้อัตราการเผาผลาญพลังในร่างกายของคุณแม่เร็วกว่าปกติ ตัวคุณแม่จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวก คุณแม่ต้องพยายามหายใจให้เต็มปอดมากกว่าเดิมโดยการหายใจให้ช้า ๆ ลึก ๆ จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกคลายความอึดอัด และรู้สึกดีขึ้น คุณแม่ควรหลีกเหลี่ยงที่จะอยู่ในสถานที่ที่มีฝุ่นและควันมาก ๆ เพราะจะทำให้คุณแม่เป็นลมได้ง่ายนะค่ะ
     ระวังนะคุณแม่      
          คุณแม่ควรอยู่ในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และต้องทำความสะอาดบ้านอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันคุณแม่จะเกิดอาการแพ้ฝุ่นต่าง ควรจัดบ้านให้โล่งเครื่องเรือนหรืออุปกรณ์ที่อาจจะทำให้ลื่นหกล้มได้ง่ายคุณแม่ควรเก็บออกไปเพื่อความปลอดภัยเวลาเดินอยู่ภายในบ้าน
          คุณแม่ควรหาเวลาพักผ่อนให้มาก ๆ พักผ่อนเท่าที่จะทำได้ ถ้าทำได้คุณแม่ควรหาเวลางีบตอนเที่ยงให้ได้วันละ 1 ชั่วโมงเป็นการดีนะค่ะ นอกจากนี้คุณแม่ควรหลีกเหลี่ยงอาหารลดจัดจ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้รู้สึกแสบลิ้นปี่ได้
     พัฒนาการลูกน้อย     
          อวัยวะส่วนต่าง ๆ เริ่มทำงาน ตับเริ่มผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง ไตเริ่มทำงาน มองเห็นเค้าโครงใบหน้าสมบูรณ์แล้วนะค่ะ ในสัปดาห์นี้เจ้าตัวน้อยจะดิ้นไปมาบ่อยขึ้นคุณแม่จะยังไม่รู้สึกเพราะลูกยังมีขนาดเล็กมากและมีแรงดิ้นน้อย เซลล์ประสาทเริ่มมีเส้นใยประสาทยื่นออกมาโยงใยติดต่อถึงกัน สมองของลูกเริ่มทำงานได้แล้วในสัปดาห์นี้นะค่ะ

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 10 "โอ๊ย! เหนื่อยจัง"




Week 10 
"โอ๊ย! เหนื่อยจัง"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่     
          ในช่วงนี้หัวใจของคุณแม่ต้องทำงานหนักขึ้นกว่าเดิม หัวใจต้องสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและที่สำคัญต้องส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงมดลูกมากขึ้น ทำให้กัวใจคุณแม่ทำงานหนักขึ้นและขยายใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย ทำให้ในช่วงนี้คุณแม่รู้สึกเหนื่อยง่ายหายใจไม่ทัน และทุกครั้งที่คุณหมอนัดตรวจครรภ์จะทำการวัดความดันเพื่อให้แน่ใจว่าความดันไม่สูงจนเกินไป เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของครรภ์เป็นพิษได้
     ระวังนะคุณแม่           
           คุณแม่ควรสังเกตอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายว่ามีอะไรผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่
เช่น มีตกขาวมากเกินไป มีเลือดออกทางช่องคลอดหรือไม่ หรือมีอาการปวดท้องผิดปกติหรือเปล่า
ถึงแม้ว่าจะเป็นน้ำหรือเลือดเพียงหยดเดียวก็ไม่ควรมองข้าม เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอันตรายกับลูกน้อยของคุณแม่ได้ ขอแนะนำให้กมั่นสังเกตตัวเองอย่างสม่ำเสมอนะค่ะ และบอกสิ่งผิดปกติเหล่านี้ให้กับแพทย์ที่ดูแลครรภ์คุณแม่ทราบด้วย
     พัฒนาการลูกน้อย        

           ทารกเริ่มได้อาหารจากคุณแม่โดยตรง เพราะรกเริ่มมีการทำงานสมบูรณ์ คุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และมีความหลากหลายครบคุณค่าทางโภชนาการ ในสัปดาห์นี้ลูกน้อยของคุณแม่มีความยาวกว่า 1 นิ้ว มีการเจริญมากขึ้น ลักษณะใบหูส่วนนอกติดกับศีรษะชัดเจน หน่อฟันของลูกน้อยจะเริ่มปรากฏ ถ้าทำอัลตราซาวด์คุณแม่สามารถเห็นนิ้วมือนิ้วเท้าชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือจะเห็นชัดเจนมาก ระบบประสาทมีการสร้างโครงสร้างของสมองส่วนต่าง ๆ เป็นส่วน ๆ สมองมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้มองเห็นเป็นส่วนที่แยกจากไขสันหลังชัดเจน
 


9 เดือนมหัศจรรย์ Week 9 "จากวุ้นกลายเป็นเด็กน้อย"


Week 9 
"จากวุ้นกลายเป็นเด็กน้อย"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่       
          ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนแบะโพรเจสเทอโรนที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ทำให้เต้านมขยายโตขึ้น ฐานหัวนมสีคล้ำขึ้น มีตุ้มเล็ก ๆ เกิดขึ้นโดยรอบ มีเส้นเลือดขึ้นรอบ ๆ เต้านม ต่อมน้ำนมขยายตัวมากขึ้นส่งผลให้ลานนมขยายตาม คุณแม่อาจมีอาการเจ็บและคัดเต้านมได้ง่ายคุณแม่ควรเปลี่ยนยกทรง
คุณแม่ที่มีรูปร่างผอมในสัปดาห์นี้จะสามารถสังเกตเห็นท้องที่โตขึ้นได้ง่าย เวลาใส่กางเกงจะรู้สึกคับแน่นมากขึ้น
     ระวังนะคุณแม่     
          คุณแม่ควรดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้ดี แปรงฟันให้สะอาด ผลของฮอร์โมนอาจทำให้เหงือกอักเสบได้ง่าย จึงต้องแปรงฟันให้ถูกวิธี คุณแม่ควรเลือกใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่มอาจใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วยก็ได้ และในช่วงนี้คุณแม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ ยกเว้นถ้าทำอะไรแล้วมีปวดท้องน้อย หรือมีเลือดออกทางช่องคลอด ต้องหยุดทำและแจ้งให้สูตินรีแพทย์ทราบทันทีนะค่ะ
     พัฒนาการลูกน้อย     
          ในสัปดาห์นี้เจ้าตัวน้อยมีความยาว 1 นิ้ว หรือใหญ่กว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์อีกนิดหน่อย
เห็นปากกับจมูกได้ชัดเจมมากขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเห็นเป็นปุ่ม ๆ แต่ในสัปดาห์นี้สามารถเห็นได้ชัดเจมมากขึ้น ระบบประสาท และระบบทางเดินอาหารพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว
          ศีรษะและสมองมีขนาดใหญ่ ลูกน้อยในครรภ์มีการดิ้นเคลื่อนไหวได้ชัดเจนมากขึ้น สมองสามารถสั่งการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนี้อได้ แต่ก็ยังเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 8 "มหัศจรรย์มือและเท้า"


Week 8
"มหัศจรรย์มือและเท้า"
     การเปลี่ยนแปลงของคุณแม่         
          คุณแม่มีอารมณ์แปรปรวนง่าย มาจากฮอร์โมนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับความวิตกกังวลในการตั้งครรภ์ในหลาย ๆ ด้ายโดยเฉพาะในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แรก หรือในบางกรณีมีมีปัญหาเรื่องการตั้งครรภ์ เมื่อเกิดความผิดปกติของร่างกายคุณแม่ก็จะวิตกและคาดเดาอากรไปต่าง ๆ นานาเป็นห่วงลูกว่าจะเป็นอย่างไร แม้ว่าจะไม่มีผลการวิจัยใดที่ยืนยังชัดเจนว่าความเครียดมีผลกับลูกน้อยในท้องหรือไม่
แต่ที่ชัดเจนเลยคือมีผลต่อตัวคุณแม่เองอย่างแน่นอน คือทำให้ไม่อยากทานอาหาร นอนไม่หลับ ปวดหัว คุณแม่จึงควรพักผ่อนให้มาก ๆ ทำจิตใจให้สงบ และเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการตั้งครรภ์คุณแม่ควรปรึกษาหมอ ผู้ที่มีประสบการณ์ หรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่คลายวิตกกังวลไปได้เช่นกันค่ะ
     ระวังนะค่ะคุณแม่       
          คุณแม่ควรทำอะไรช้าด้วยความระมัดระวังอย่าลืมนะค่ะว่าในตัวคุณแม่มีลูกน้อยอยู่ด้วย
ควรหลีกเหลี่ยงการยกของหนัก การยืนนาน ๆ คุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมากในช่วง 3 เดือนแรก
เพราะตัวอ่อนอาจจะยังยึดติดกับโพรงมดลูกไม่แข็งแรงดีนัก ซึ่งอาจจะนำมาซึ่งการแท้งได้นะค่ะ
          นอกจากนี้คุณแม่ควรหลีกเหลี่ยงการได้รับเชื้อโรคจากการกินอาหารดิบ ๆ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ
โดยเฉพาะไข่ที่ไม่ได้ปรุงให้สุก และอาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อค่ะ
     พัฒนาการลูกน้อย         
          ลูกน้อยมีความยาวมากว่าครึ่งนิ้ว หรือมีขนาดเท่าเม็ดมะม่วหิมพานต์ แขนขาเริ่มงอกเป็นตุ่มออกมาจากลำตัว ที่ปลายของตุ่มแขนตุ่มขามีร่องเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นเมือและเท้าเล็ก ๆ ค่ะ สมองของเจ้าตัวน้อยจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เห็นดวงตาของลูกได้ชัดเจนเป็นจุดดำ ๆ ที่บริเวณส่วนหัว ลูกเริ่มมีการเคลื่อนไหวไปมา เซลล์เม็ดสีพัฒนาระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อนภายในสมอง คุณแม่จึงต้องหมั่นทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 และวิตามินบี 2 ซึ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ สารอาหารที่กล่าวมานี้มักจะมีอยู่ในอาหารประเภท ไข่แดง ไข่ปลา เนยเข็ง ผักใบเขียว เป็นต้น

         
 
         

2556/04/14

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 7 "คุณแม่จะเริ่มปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น"


Week 7 
"คุณแม่จะเริ่มปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น"
     เกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่     
          คุณแม่อาจจะรู้สึกรำคาญที่รู้สึกปวดปัสสาวะ ในสัปดาห์นี้เองคุณแม่จะเริ่มรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่มากขึ้นแล้วส่งผลกระทบไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนี้อกระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นเมื่อมีปัสสาวะเพียงเล็กน้อยในกระเพาะปัสสาวะก็อาจทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้แล้ว และอีกเหตุผลหนึ่งเกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่จนไม่ทับกระเพาะปัสสาวะจึงทำให้กระเพาปัสสาวะมีพื้นที่น้อยลงในการเก็บปัสสาวะจึงทำให้คุณแม่ปวดปัสสาวะบ่อยได้เช่นกัน และในช่วงสัปดาห์นี้คุณแม่อาจมีอาการแด้ท้องเพิ่มขึ้น อ่อนเพลีย เป็นลมหน้ามืดได้ง่าย อารมณ์แปรปรวนมดลูกที่โตขึ้นอาจจะทำให้มีอาการหน่วง ๆ ถ่วง ๆ ในท้องน้อย อาจเจ็บบริเวณปีกมดลูกได้ง่าย เนื่องจากมดลูกโตขึ้น ปีกมดลูกก็จะถูกดึงรั้งตึง
          คุณแม่อาจมีอาการแสบบริเวณลิ้นปี่ จากการอาเจียน น้ำย่อยที่อาเจียรออกมาทำให้แสบหลอดอาหารได้ง่าย คุณแม่ควรดื่มน้ำอุ่น ๆ และก็กลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเช่นกันน้ำอุ่นจะช่วยล้างกลิ่นอาหารและน้ำย่อยที่คุณแม่อาเจียนออกมาได้ 
     คุณต้องระวังอะไร         
          คุณแม่ยังคงสามารถออกกำลังกายได้โดยการเดินเบา ๆ และไกวแขนแทน ไม่เล่นกีฬาที่เสียงต่อการกระแทก ส่วนคุณแม่สุขภาพไม่แข็งแรง มีภาวะแท้งคุกคาม ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย
     เกิดอะไรขึ้นกับลูก      
          ลูกน้อยของคุณแม่มีความยาวเกือบครึ่งนิ้วแล้วนะค่ะ ถึงจะมีขนาดที่เล็ก ลูกน้อยก็มีอวัยวะสำคัญหลายอย่างเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาแล้วค่ะ ตอนนี้ลูกน้อยของคุณแม่มีขนาดของหัวที่ใหญ่กว่าลำตัว
สมองมีร่องรอยของหู มีปุ่มแขนขาเล็ก ๆ หัวใจของเขาเริ่มแบ่งออกเป็นห้องซ้ายและขวา เต้นประมาณ 150 ครั้งต่อนาที ถ้าคุณแม่ทำอัลตร้าซาวด์ก็จะเห็นได้ว่าลูกน้อยสามารถเคลื่อนไหวได้แล้วค่ะ

2556/04/13

ชวนคิดอาหารที่คุณแม่รับประทาน (ลูก) ได้ประโยชน์แค่ไหน




 ชวนคิดอาหารที่คุณแม่รับประทาน (ลูก) ได้ประโยชน์แค่ไหน
         คุณส่วนใหญ่มักจะได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ในหญิงตั้งครรภ์ว่าต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของอาหารการกิน ต้องคัดสรรและเลื่อกที่มีประโยชน์มากด้วยคุณค่าทางสารอาหารปลอดภัยต่อร่างกาย คุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ เพื่อความสมบูรณ์ของหารตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน
          การปกป้องลูกน้อยในครรภ์ให้เจริญเติบโตตามช่วงพฒนาการของการตั้งครรภ์ตลอด 9 เดือน จึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต้องแน่ในว่า อาหาร ของใช้ส่วนตัวนั้นมีความปลอดภัยจากสารเคมีและสารพิษอันตรายต่าง ๆ ที่จะได้ไม่ส่งผลกระทบไปยังทารกในครรภ์ เพราะหากมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ อาจส่งผลให้การเติบโตของทารกไม่เป็นไปตามช่วงพัฒนาการการตั้งครรภ์ หรือไม่ก็ส่งผลถึงขั้นร้ายแรง (แท้ง) ได้นะค่ะ

2556/04/11

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 6 "อาการแพ้ท้องเริ่มปรากฎขึ้น"


Week 6
"อาการแพ้ท้องเริ่มปรากฎขึ้น"
      เกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่      
          ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้นคุณแม่บางท่านอาจเริ่มแพ้ท้องในสัปดาห์นี้ คุณแม่ควรเปลี่ยนพฤติกรรมการทานให้น้อยลง แต่เปลี่ยนเป็นการทานที่บ่อยครั้งขึ้น ถ้าทานอะไรไม่ได้เลยให้หาขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช และพักผ่อนให้มาก ๆ แต่ถ้ามีอาการแพ้ท้องรุนแรงให้คุณแม่ลองจิบน้ำขิงอุ่น ๆ จะช่วยให้รู้สึกโล่งสบายขึ้น และในสัปดาห์นี้เองคุณแม่จะเริ่มมีอาการท้องผูก เพราะมดลูกขยายไปกดทับลำไส้ใหญ่ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะเป็นคนที่มีระบบขับถ่ายปกติมาก่อนการตั้งครรภ์ ก็อาจเกิดการท้องผูกได้
     ท้องผูก
          ท้องผูกที่เกิดขึ้นมาจากฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน ที่ทำให้กล้ามเนี้อลำไส้ทำงานน้อยลง อาหารผ่านไปได้ช้ากว่าปกติ น้ำที่มีอยู่ในอาหารถึงดูดซึมเข้าร่างกายมากขึ้น ทำให้อุจจาระแห้ง และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากมดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นทำให้ไปกดทับลำไส้ทำให้กากอาหารผ่านได้ช้า จึงเกิดอาการท้องผูกตามมา
     วิธีแก้
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • ดื่มน้ำผลไม้คั่นสด เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ น้ำแครอท ฯลฯ
  • กินผลไม้สดและผักสดที่มีกากใย 
  • เดินออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 10-15 นาที ในตอนเช้า แล้วดื่มน้ำ
  • ถ้าท้องผูกมากสามารถปรึกษาแพทย์ได้ตามความเหมาะสม 
     คุณต้องระวังอะไร
          คุณแม่ที่ทานยาเป็นประจำในช่วงสัปดาห์นี้ต้องระวังเรื่องการใช้ยา คุณแม่ต้องแจ้งให้แพทย์ที่ดูแลครรภ์ของคุณแม่ทราบอย่างละเอียด และที่สำคัญคุณแม่ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะในช่วง 3 เดือนแรก ลูกน้อยของคุณแม่กำลังสร้างอวัยวะพื้นฐานต่าง ๆ ที่สำคัญทั้งหมด หลีกเหลี่ยงสิ่งที่เป็นพิษ
หรือสถานที่ที่มีมลพิษสูงตั้งแต่ แอลกอฮอล์ ควันบุหรี่ กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ
     เกิดอะไรขึ้นกับลูก      
          สัปดาห์นี้เจ้าตัวน้อยมีขนาดยาวประมาณ 5 มม.ขนาดยังเล็กมาก แต่ที่น่าทึ่งคือถ้าทำการอัลตราซาวนด์ ก็จะเห็นรูปโครงสร้างของกระดูกสันหลังได้ชัดเจน หัวใจมีการเต้นประมาณ 180 ครั้งต่อนาที
สมองส่วนหน้าของลูกน้อยเติบโตขยายขานด และแบ่งเป็นสมองซีกซ้ายและขวาชัดเจน และเริ่มมีหนังตา หู มือ และเท้า ที่เป็นรูปร่างขึ้น

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 5 "ช่วงนี้เมื่อตรวจปัสสาวะจะรู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว"



Week 5 
"ช่วงนี้เมื่อตรวจปัสสาวะจะรู้ว่าตั้งครรภ์แล้ว"
      เกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่      
          การตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนที่ช่วยให้กล้ามเนื้อมดลูกคลายตัว ลดความดันโลหิตส่วนฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนม
เสริมสร้างมดลูกให้แข็งแรง ฮอร์โมน HCG เป็นฮอร์โมนที่ผลิตออกมาจากรกทันทีที่มีการตั้งครรภ์
ซึ่งผลของการตรวจปัสาวะว่าตั้งครรภ์หรือไม่ก็คือการตรวจดูว่ามีฮอร์โมนดัวนี้นั่้นเอง
          เมื่อทราบผลที่ชัดเจนแล้ว ชั้นตอนต่อไป คือ การฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ เพื่อให้แพทย์ดูแล
คุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์กระทั่งคลอดลูกอย่างปลอดภัย
          ในช่วงนี้คุฯแม่บางท่านอาจจะสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างการได้ชัดเจนขึ้น จากอาการต่อไปนี้
คือ มีอาการคล้ายตอนก่อนมีประจำเดือน มีอากรคัดหน้าอก ลานหัวนมมีสีเข้มขึ้น ง่วงนอนและหาวนอนบ่อย ๆ เหนื่อยง่าย ต้องการพักผ่อนมากขึ้น ถ้าการทำงานคุณแม่ต้องเคลื่อนไหวมาก ก็ควรหาเวลาพักบ่อย ๆ เริ่มมีอาการแพ้ท้อง บางท่านอาจจะรู้สึกคลื่นไส้ อยากอาเจียนในช่วงเช้า ๆ หลังตื่นนอน หรือ
เวลาใดก็ได้ตลอดวัน แต่มักจะเป็นในช่วงที่ท้องว่าง ๆ (บางคนอาจไม่มีอาการแพ้ใด ๆ เลยก็ได้)
มีน้ำลายมากกว่าปกติ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ
      แพ้ท้อง
          อาการแพ้ท้องมักเกิดในช่วงเช้ามากที่สุดเชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน HCG
ถ้ามีระดับสูงก็จะมีการแพ้ท้องสูง ส่วนมากแล้วอาการแพ้ท้องจะดีขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ไปถึง
สัปดาห์ที่ 14-16 หรืออาจเร็วกว่านี้ก็ได้ ซึ่งตามปกติอาการแพ้ท้องไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อลูกในท้อง
แต่อย่างใด แต่ถ้ามีอาการมาก น้ำหนักลดมากผิดปกติหรือแพ้ท้องยาวนาน ควรได้รับการรักษา
จากแพทย์

 


      ดูแลยามแพ้
  • รับประทานอาหารครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ อาจแบ่งมื้ออาหารเป็น 5-6 มื้อต่อวัน เพื่อไม่ให้ท้องว่าง     หรือแน่นจนเกินไป
  • หลีกเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน หรืออาหารที่มีเครื่องเทศมาก เพราะกลิ่นอาจทำใให้อยากอาเจียน
  • ไม่ควรลุกจากที่นอนทันทีหลังตื่นนอน อาจจะรับประทานขนมปังกรอบ คุกกี้ แบบเค็ม น้ำมะนาวอุ่น ๆ  
  • สักแก้วแล้วหลับต่อสัก 30 นาที ก่อนลุกจากที่นอน จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้
  • จิบน้ำขิงอุ่น ๆ จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้
  • หลังอาเจียน กลั้วปากด้วยน้ำอุ่น ช่วยล้างกลิ่นและคราบอาหารที่ติดอยู่ในช่องปาก เพื่อลดอาการ        พะอึดพะอม
  • ทำจิตใจให้สบาย เพราะคุณแม่หลายท่ามักกังวลกับการตั้งครรภ์มากเกินไป
      คุณต้องระวังอะไรบ้าง      
          การตั้งครรภ์ในช่วงแรกถึงแม้ร่างการภายนอกคุณแม่ยังไม่เปลี่ยนแปลงแต่ระบบหมุนเวียนโลหิต
ทำงานหนักขึ้น หัวใจทำงานหนักขึ้น คุณแม่จะรู้สึกเหนื่อยง่าย ฉะนั้นควรหาเวลาพักผ่อนในช่วงกลางวัน อาจจะนั่งพักเอนหลัง หรือหาเวลางีบในช่วงบ่าย จะทำให้คุณแม่สดชื่นขึ้น

9 เดือนมหัศจรรย์ Week 1-4 "ชีวิตน้อย ๆ กำลังก่อตัว"



Week 1-4 
"ชีวิตน้อย ๆ กำลังก่อตัว"

      เกิดอะไรขึ้นกับคุณแม่      
          เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่จะรับรู้ถึงอาการผิดปกติบางอย่าง เพราะฮอร์โมน
ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่เมื่อเกิดการปฏิสนธิ
ร่างการแม่จะมีมารสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรนที่จะคอยทำหน้าที่ช่วยฟูมฟักตัวอ่อน
และเตรียมเยื่อบุโพรงมดลูกให้หนาขึ้น เพื่อรอรับตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วมาฝังตัว และเมื่อตัวอ่อนฝังตัวเรียบร้อยแล้วเนื้อเยื่อของตัวอ่อนจะผลิตฮอร์โมน HCG (Human Chorionic Gonadotrophin)
เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายปรับสภาพเข้ากับภาวะการตั้งครรภ์ ทั้งนี้การตรวจว่าได้ตั้งครรภ์แล้วหรือไม่
ก็คือการตรวจจากระดับฮอร์โมน HCG ตัวนี้นั่นเอง
      คุณแม่ต้องระวังอะไรบ้าง      
          ในช่วงแรกคุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์ จึงไม่ได้ระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษ
แต่ถ้าไม่แน่ใจสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือเรื่องอาหาร ควรกินอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษ
ต่อร่างการ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง เมื่อต้องทานยาใด ๆ
      เกิดอะไรขึ้นกับลูก      
          เมื่ออสุจิที่แข็งแรงที่สุด สามารถวิ่งเข้าเส้นชัยเข้าไปอยู่ในไข่ที่สุกพอดี ก็จะเกิดการปฏิสนธิกันขึ้น
จากนั้นไข่กับอสุจิก็จะผสมกันจนกลายเป็นตัวอ่อน ก็จะเริ่มแบ่งตัวต่อไป และขณะเดียวกันก็จะเดินทางไปสู่โพรงมดลูก เพื่อหาที่อยู่ที่เหมาะสม และเจริญเติบโตต่อไป ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน ตัวอ่อนจะพัฒนาตัวเองจนมีการแบ่งเซลล์ถึง 100-120 เซลล์ เรียกตัวอ่อนในระยะนี้ว่า บลาสโตซิสท์
(มีขนาดเท่าหัวเข็มหมุด) ซึ่งจะฝังตัวลงไปในเยื่อบุโพรงมดลูกของมารดา ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ต่อไป
          ในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 4 นี้จะเริ่มมีถึงน้ำคร่ำเกิดขึ้นแล้วถึงน้ำคร่ำนี้ทำหน้าที่ป้องกันตัวอ่อน
จากสิ่งแวดล้อมป้องกันการกระทบการะเทือน รวมถึงช่วยควบคุมอณหภูมิ ความยาวของตัวอ่อน
ในช่วงสัปดาห์ที่ 4 จะยาวเพียง 1/4 นิ้วเท่านั้น ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนี้อเยื่อ 3 ชนิด โดยชนิดแรกจะเจริญต่อไปเป็นผม เล็บ หูส่วนใน เลนส์ตา เป็นต้น ชนิดที่สอง จะพัฒนาเป็นระบบประสาทจอตา ต่อมใต้สมอง กระดูก กล้ามเนื้อ เซลล์เลือด เซลล์น้ำเหลือง ชนิดที่สามจะพัฒนาไปเป็นปอด หลอดลม
ระบบทางเดินอาหาร ตับ ตับอ่อน กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

วางแผนการคลอด



วางแผนการคลอด......
การวางแผนการคลอด ขอแบ่งเป็น 4 ช่วงหลัก ๆ นะค่ะ

ช่วงตั้งครรภ์ 

          คุณพ่อกับคุณแม่ต้องรีบทำการบ้านแล้วนะค่ะว่าจะเลือกหมอท่านใด โรงพยาบาลไหน ที่จะฝากครรภ์และดูและเราในช่วงตั้งครรภ์จนทำคลอด บอกได้เลยค่ะว่าเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากเลยค่ะ
เพราะตลอด 40 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปตอลด จนทำให้คุณพ่อคุณแม่
เป็นกังวล และเกิดคำถามเยอะแยะไปหมดเลยค่ะ

ช่วงเจ็บครรภ์

          การเจ็บครรภ์จะแบ่งได้ 2 ช่วง คือ การเจ็บครรภ์เตือนหรือการเจ็บครรภ์หลอกและการเจ็บครรภ์คลอด คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์แล้วคงไม่ใช่เรื่องยากใช่ไหมค่ะกับการแยกระหว่างเจ็บครรภ์เตือนกับเจ็บครรภ์คลอดแต่สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกคนแรกคงมีปัญหากับการแยกการเจ็บครรภ์ว่าอันไหนเจ็บเตือนอันไหนเจ็บคลอด เรามาดูกันค่ะว่าการเจ็บครรภ์ทั้งสองแบบนี้ต่างกันอย่างไรและควรไปโรงพยาบาลเมื่อใด

-เจ็บครรภ์เตือน เป็นสัญญาณเตือนว่าลูกน้อยของคุณแม่ใกล้ลือมตาดูโลกแล้ว คุณแม่จะมีอาการปวดหน่วงที่บริเวณหัวหน่าว ท้องแข็งครั้งละประมาณ 1-2 นาที เนื่องจากมีการบีบตัวของมดลูก คุณแม่จะปวดเป็นพัก ๆ ไม่ถี่ พอคุณแม่เปลี่ยนท่านั่งหรือท่านอนอาการก็จะหายไปค่ะ

-เจ็บครรภ์คลอด คุณแม่จะมีอาการคล้าย ๆ กับเจ็บเตือนแต่ระยะเวลาการเจ็บจะนานขึ้นเรื่อย ๆ
จาก 1-2 นาที เป็น 3 4 5 นาที และจะเริ่มเจ็บถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเปลี่ยนที่นั่งหรือที่นอนก็ไม่หาย
และถ้ามีมูกใส ๆ หรือมูกเลือดออกมาคุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลได้เลยค่ะ นั้นเป็นสัญญาณที่ดีว่าคุณแม่กำลังจะได้เห็นหน้าลูกน้อยแล้วค่ะ

ช่วงคลอด

          เป็นช่วงเวลาที่คุณพ่อคุณแม่รอคอยได้สิ้นสุดแล้วค่ะเมื่อลูกน้อยกำลังจะลืมตาดูโลกในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้ คุณแม่อย่ามั่วตื่นเต้นหรือกลัวจนลืมว่าคุณแม่จะเลือกคลอดแบบไหนจะผ่าหรือคลอดเอง

- การผ่าคลอด คือ ผ่าทางหน้าท้อง โดยคุณหมอจะทำการบล็อกหลังคุณแม่คือการฉี่ยาชาเข้าที่ข้อต่อของกระดูกสันหลัง เพื่อระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัด มั่นใจได้ว่าค่ะว่าลูกน้อยของคุณแม่จะไม่ได้รับยาแต่อย่างใดปลอดภัยทั้งแม่ทั้งลูกค่ะ และตัวคุณแม่เองก็ไม่ต้องกังวลกับการล้างแผลนะค่ะ เพราะการแพทย์สมัยนี้ก้าวหน้าแล้วค่ะ คุณแม่จะเลือกใช้กาวปิดแผลก็ได้ค่ะ เป็นเจลทาหลังจากเย็บแผลเสร็จ พอแห้งก็จะเป็นแผ่นฟิลม์ใสอยู่ได้ประมาณ 1 อาทิตย์ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ทันทีที่คุณหมออนุญาตให้เคลื่อนไหวค่ะ แต่อาจต้องจ่ายแพงกว่าเดิมนิดหน่อยนะค่ะ

- การคลอดเองหรือคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทางช่องคลอด โดยคุณหมอจะตัดฝีเย็บ เพื่อขยายช่องคลอดให้ลูกน้อยผ่านออกมาได้ หลังจากนั้นคุณหมอก็จะทำการเย็บซ่อมแซมให้ค่ะ
แต่อย่างไรก็ตามการคลอดทั้งสองวิธีนี้คุณพ่อสามารถอยู่ให้กำลังใจคุณแม่ตลอดการคลอดได้ค่ะ

ช่วงหลังคลอด

           อย่างที่กล่าวมาแล้วในช่วงคลอดว่าการคลอดมี 2 วิธี การดูแลในช่วงหลังคลอดก็แตกต่างกันไปค่ะ

- การคลอดเองหรือการคลอดธรรมชาติ
          การคลอดเองหรือการคลอดธรรมฃาติ นั้นเด็กออกทางช่องคลอด คุณแม่ก็จะมีแผลแค่ฝีเย็บ คุณแม่สามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีหลังคลอด และสามารถอยู่ไฟได้ทันทีส่วนแผลฝีเย็บนั้นจะดูแลโดยการเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำอุ่น และซับให้แห้ง ในระยะที่พักฟื้นที่โรงพยาบาลคุณหมอจะอบแผลฝีเย็บด้วยไฟฟ้าหลังทำความสะอาดค่ะ แต่คุณแม่ก็ต้องพยายามเดินหรือเคลื่อนไหวบ่อย ๆ แต่ทำอย่างช้า ๆ เพื่อเป็นการขับน้ำควาปลาที่ยังคงตกค้างอยู่ในมดลูกนะค่ะ ส่วนแผลฝีเย็บก็จะหายภายใน 1-2 สัปดาห์ค่ะ

- การผ่าคลอด
          การผ่าคลอด เด็กออกทางหน้าท้องของคุณแม่ คุณแม่ก็จะมีแผลจากการผ่าตัด คือ แผลที่มดลูกและแผลทางหน้าท้อง ระยะเวลาการพักฟื้นก็จะยาวนานกว่าคลอดธรรมชาติ หลังจากการผ่าตัดคุณหมอก็จะงดน้ำงดอาหารและไม่ให้คุณแม่เคลื่อนไหวนอนหงายนิ่ง ๆ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วหลังจากนั้นคุณหมอก็จะค่อย ๆ ให้คุณแม่จิบน้ำ และอนุญาตให้คุณแม่นอนตะแครง และเคลื่อนไหวตัวเมื่อคุณหมออนุญาต คุณแม่ต้องพยายามเดินถึงแม้ว่าจะเจ็บแผลแค่ไหนก็ตามเพื่อลดพังพืดแผลภายในมดลูก และขับน้ำคาวปลาที่ยังตกค้าง ส่วนของแผลของคุณแม่คุณหมอจะปิดแผลด้วยแผ่นฟิลม์พลาสติก(หรือถ้าคุณแม่ท่าใดใช้กาวปิดแผล)คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ทันที และไม่ต้องล้างแผลเพียงแต่ต้องคอยดูว่าแผ่นฟิมล์หลุด หรือเปิดหรือเปล่าแค่นั้นค่ะ คุณแม่ที่ผ่าคลอดจึงไม่สามารถอยู่ไฟได้ทันที เพระไหมที่เย็บนั้นเป็นไมละลายการอยู่ไฟหรือทานน้ำร้อนจัดจะทำให้ไหมละลายเร็วกว่าที่ควร
คุณแม่จะอยู่ไฟได้หลังจากผ่านไป 1 เดือนแล้วค่ะ หรือไม่ก็ตามความเห็มสมควรของคุณหมอนะค่ะ


ประโยชน์ของผักกาดขาว

          ผักกาดขาวใครหลาย ๆ คนชอบทานแต่ถ้าถามว่ารู้ประโยชน์ที่แท้จริงหรือไม่นั้นคงตอบได้ยาก จริง ๆ แล้วผักกาดขาวมีสรรพคุณทางยาด้วย คุณแ...